เมนู

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์จึงตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ไม่เหมือนกันด้วยลงโทษนั้น
ตามบรรดาศักดิ์ และหาบรรดาศักดิ์มิได้
พระนาคเสนจึงถวายพระพรไปว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
ซึ่งว่าสัมปชานมุสาวาทนั้นก็เหมือนกัน สมเด็จพระสัพพัญญูตรัสโปรดไว้ตามวัตถุเบาและ
หนักเหมือนหนึ่งความที่เปรียบนี้ พระภิกษุรูปใดเจรจาเป็นสัมปชานมุสาวาท ลวงล่อให้เขาเสีย
ทรัพย์ให้เขาฉิบหายตายด้วยวาจาสัมปชานมุสาวาท นี้เป็นอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ใดกล่าว
สัมปขานมุสาวาท มิได้มีอธิบายจะให้เขาฉิบหายอันตรายอันใดอันหนึ่ง พระภิกษุนั้นต้องแต่ลหุ-
กาบัติเบา นี่แหละพระพุทธฎีกาของสมเด็จพระสัพพัญญูเข้าจะได้เป็นสองหามิได้ บพิตรจง
เข้าพระทัยด้วยประการดังนี้
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีได้ทรงสดับ ก็สิ้นสงสัยตรัสสรรเสริญว่า สาธุ พระผู้เป็น
เจ้าวิสัชนาถูกต้องแล้ว โยมจะรับไว้ตามนัยที่พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้ทุกประการ
มุสาวาทครุลหุภาวปัญหา คำรบ 9 จบเพียงนี้

ยาจโยคปัญหา ที่ 10


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นสาคลราชธานี มีพระราชปุจฉาถามอรรถปัญหาแก่พระ
นาคเสนสืบไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ สมเด็จพระมงกุฏาจารย์มีพระ
พุทธฎีกาตรัสว่า อหมสฺมิ ภิกฺขเว พฺราหฺมโณ ดูรานะภิกษุสงฆ์ทั้งปวง ตถาคตนี้เป็นพราหมณ์
ยาจโยโค ผู้ควรอันยาจกพึงขอ ปิยตฺตปาณี ล้างมือไว้คอยจะหยิบทานแจกจ่ายแก่ยาจก
ทั้งหลายทุกเมื่อ อนฺติมเทหธโร ทรงไว้ซึ่งพระบวรกายเป็นอันติมะมีที่สุด คือมิได้เวียนว่าย
ตายเกิดเป็นรูปเป็นกายต่อไป อนุตฺตโร เป็นผู้ยิ่งหาใครผู้ใดจะเปรียบมิได้ สมเด็จพระบรมไตร
โลกนาถประภาษไว้ดังนี้ นานมา ภควตา ภณิตํ กลับมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุ
สงฆ์ทั้งปวง อปฺปาพาธานํ แต่บรรดาสาวกของเราที่มีอาพาธน้อยนั้น พระพากุลเถระนี้มี
อาพาธความเจ็บน้อยยิ่งกว่าคนทั้งปวง พระพากุลเถรเจ้านี้ยกประเสริฐดังนี้ ก็และพระองค์เองก็
ได้ประชวรพระโรคพาธถึงสี่ครั้ง แล้วพระองค์ยกพระองค์ว่า หาผู้ใดจะประเสริฐเปรียบปานมิได้
ภายหลังกลับมายกยอพระพากุลเถระว่า เป็นเอตทัคคะมีอาพาธน้อยไม่เจ็บไข้เป็นอย่างยอดใน
หมู่สาวกของพระองค์ พระพุทธฎีกาทั้ง 2 นี้ไม่ต้องกัน พระองค์ประชวรถึงสี่ครั้งและยก

พระองค์ว่ายิ่ง แล้วกลับมายกยอพระพากุลเถระว่า มีอาพาธน้อยอย่างยิ่ง ฟังดูก็วุ่นวายไป หา
รู้ที่จะเอาข้างไหนเป็นแน่ไม่ ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแก้ไขให้สิ้นสงสัยของโยมในกาลบัดนี้
เถโร ฝ่ายพระอรหาธิบดินทร์ปิ่นภิกษุ คือ พระนาคเสนมีเถรวาทีถวายพระพรวิสัชนา
ว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระโลกุตตมาจารย์ญาณสัพพัญญูเจ้าเดิม
พระองค์ตรัสยกย่องพระองค์ว่ายิ่งนั้น ด้วยสามารถทรงพระคุณหาบุคคลจะเปรียบมิได้ ทรงไว้
ซึ่งพระคุณอันใหญ่ยิ่ง พระองค์ตรัสว่า พระพากุลเถระยิ่งนั้น ยิ่งตามมีอาพาธน้อย ใช่จะยกพระ
พากุลเถระยิ่งกว่าพระองค์หามิได้ ใช่จะยกเป็นเอตทัคคะแต่พระพากุลเถระนี้ก็หามิได้
สาวกองค์ใดชำนาญในพระปิฎกอันใด พระองค์ก็ยกพระมหาเถระพระองค์นั้นเป็นเอตทัคคะใน
พระปิฎกนั้น เหมือนพระอุบาลีนั้นเป็นเอตทัคคะฝ่ายพระวินัย พระมหากัสสปยิ่งในพระปรมัตถ์
พระอานนท์เถรเจ้ายิ่งในพระสูตร อนึ่ง ว่าโดยฝ่ายวิปัสสนาธุระเล่าพระโยคาวจรเจ้าจำพวกใด
ประเสริฐในจงกรมและอิริยาบถนั่ง อิริยาบถนอน อิริยาบถยืน อิริยาบถเดิน และประกอบด้วย
คุณวิเศษสิ่งใดในธุดงคปฏิบัติ มีเอกาสนิกธุดงค์ คือ ฉันหนเดียว แม้จะเสียชีวิตก็ไม่ฉันหนที่
2 เป็นต้น สมเด็จพระทศพลก็ยกพระสาวกผู้นั้นว่าเป็นเป็นเอตทัคคะยิ่งกวากันแต่ะอย่าง ๆ ไป
ใช่จะยกเอตทัคคะเป็นยิ่งแต่พระพากุลเถระผู้เดียวหามิได้ ยกเอตทัคคะนั้นมากด้วยกัน มหา-
ราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารเจ้า ภควา ปน แม้อันว่าสมเด็จพระภควันตรบพิตร
เจ้า อนุตฺตโร สีเลน สมาธินา ยิ่งกว่าสรรพเทวามนุษย์นิกรอินทร์พรหมอมเรศร์ ด้วยคุณวิเศษ
คือ ศีลสมาธิและพระปัญญาและวิมุตติ และพระวิมุติญาณทัสนะและพระทศพลญาณ เวสารัชช-
ญาณ อัฏฐารสธรรม 18 ประการ ด้วยพระพุทธพิสัย อนุตฺตโร ไม่มีใครเทียมถึง ยอดยิ่งอยู่
แต่สมเด็จพระสัพพัญญูผู้เดียว มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ปานประหนึ่ง
ว่าในมนุษย์นี้ย่อมมีวิเศษต่างกัน เอโก มนุษย์บางจำพวก ชาติมา มีชาติตระกูลประยูรวงศามาก
เอโก บางจำพวดมีทรัพย์เงินทองมาก เอโก บางจำพวก วีชวา มีแต่พืชทั้งหลายมากมายนัก
หนาเป็นอาทิ คือ พืชข้าวเปลือกเรือนสวนไร่นา สิปฺปวา มีศิลปศาสตร์ เอโก บางจำพวก สูโร
องอาจแกล้วกล้า เอโก บางจำพวก วิจกฺขโณ มีปัญญาตกแต่ว่าต่างคนต่างวิเศษไปคนละอย่าง
ๆ ฉะนี้ และคนทั้งหลายถึงจะดีเท่าดีประการใด ก็ย่อมไหว้นบเคารพสมเด็จบรมกษัตริย์สิ้น
เหตุว่าบรมกษัตริย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินสูงสุดกว่าชนทั้งหลายฉันใด สมเด็จพระสุคตินทราธิบดี
ศรีอุตตมาจารย์ พระพุทธองค์เจ้าก็ทรงพระคุณเลิศลบภพไตร สาวกพระองค์ใดจะล้ำเลิศ
ประเสริฐกว่าหามิได้ฉันนั้น อย่าว่าแต่ พระพากุลเถระนี้เลย ถึงพระอัครสาวกทั้งสองผู้ประเสริฐ
เล่า จะได้ประเสริฐเสมอพระพุทธองค์เจ้าหามิได้ มหาราช ขอถวายพระพร ก็พระพากุลเถระนี้
เป็นผู้มีอาพาธน้อย ก็ด้วยสามารถอภินิหารวิบากผลที่ได้เป็นแพทย์พยาบาลรักษาพระโรคาพาธ
ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่พระทศพลญาณอันทรงพระนามว่าอโนมทัสสีและวิปัสสี กับทั้งพระภิกษุสงฆ์

หกล้านแปดแสนองค์ ด้วยเภสัชทั้งหลาย จึงถึงซึ่งความเป็นผู้มีอาพาธน้อย สมเด็จพระ
มหากรุณาทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะหาผู้ใดเสมอมิได้ ขอถวายพระพร
พระเจ้ามิลินท์ได้ทรงฟังก็สิ้นสงสัยโสมนัสตรัสสรรเสริญ ซ้องสาธุการ และทรงรับตาม
ที่พระผู้เป็นเจ้าพระนาคเสนถวายวิสัชนาทุกประการ
ยาจโยคปัญหา คำรบ 10 จบเพียงนี้
จบจตุตถวรรค

ปัญจมวรรค


อิทธิยา กัมมวิปากปัญหา ที่ 1


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ผู้ปิ่นประชา จึงมีพระราชโองการถามอรรถปัญหาอื่นสืบไปเล่าว่า
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยบวรวิสุทธิปรีชา อนึ่ง สมเด็จพระมหากรุณา
โลกุตตมมงกุฎปราชญ์ มีพระพุทธฎีกาประภาษยกพระโมคคัลลานะทุติยสาวกว่า เอตทคฺคํ
ภิกฺขเว มม สาวกานํ ภิกฺขูนํ อิทฺธิมนฺตานํ ยทิทํ มหาโมคฺคลฺลาโน
ดังนี้ ความว่า ภิกฺขเว
ดูรานะภิกษุทั้งหลาย แต่บรรดาสาวกฝ่ายมีฤทธิ์นี้ และสาวกผู้ใดที่จะมีฤทธิ์ ยิ่งกว่าพระโมคคัล
ลานะนี้หามิได้ ก็แลพระโมคคัลลานเถระนี้ประเสริฐด้วยฤทธิ์แล้ว ทำไมจึงไม่สู้รบโจร ปล่อย
ให้โจรตีจนศีรษะแตกกระดูกหักละเอียดป่นปี้จนต้องปรินิพพาน โจรมิมีฤทธิ์ไปกว่าพระโมค
คัลลานะหรือ ถ้าพระโมคคัลลานมีฤทธิ์แล้วที่ไหนโจรจะตีได้ น่าสงสัยนักหนา ปัญหานี้เป็น
อุภโตโกฏิ นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าโปรดวิสัชนาไปให้โยมแจ้งในกาลบัดนี้
เถโร พระนาคเสนผู้เป็นองค์อรหันต์จึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร
พระราชสมภาร อันพระพุทธฎีกาของสมเด็จพระโลกุตตมาจารย์เจ้า จะเป็นสองหามิได้ เทฺว
อจินฺเตยฺยา
สมเด็จพระบรมโลกุตตมาจารย์เจ้า ตรัสประทานธรรมเทศนาอจินไตยไว้ 2 ประการ
คือโลกุตรฤทธิ์นี้ประการ 1 กรรมวิปากฤทธิ์นั้นประการ 1 ฤทธิ์ทั้งสองนี้ เป็นอจินไตย ไม่
ควรจะพึงคิดเลย โลกุตรฤทธิ์นี้เป็นฤทธิ์ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันต์
เจ้าทั้งหลาย โลกุตรฤทธิ์นี้ อุปัทวอันตรายอื่น ๆ มิอาจย่ำยีได้ แต่จะสู่กรรมวิบากฤทธิ์ จะ
ยังวิบากฤทธิ์ให้อันตรธานหายนั้น กระทำไม่ได้ กรรมวิบากฤทธิ์นั้น คือฤทธิ์แห่งผลกุศลา
กุศลกรรม อันผลแห่งกุศลากุศลกรรมนี้ ถึงผู้ใดจะมีฤทธิ์เทียมพระสัพพัญญูก็มิอาจสู้ได้ กปิฏฺเฐ
กปิฏฺฐํ วิย โลกุตรฤทธิ์เหมือนผลมะขวิด ครั้นต้องกันเข้า ข้างผลมะขวิดก็แตกทำลาย อมฺเพน
อมฺพํ วิย จ ถ้ามิฉะนั้น ดุจต้นไม้มะม่วงกับผลมะม่วง เมื่อตกต้องกัน ผลก็ทำลายไป ฉันใดก็ดี
โลกุตกฤทธิ์นี้อ่อน มิอาจจะกั้นกรรมวิบากฤทธิ์ได้ คือผลกรรมนี้แรงกว่า เหตุฉะนี้ พระมหาโมค
คัลลานเถรเจ้าจึงสู้กรรมวิบากฤทธิ์สู้แรงกรรมไม่ได้ด้วยพระโมคคัลลานเถรเจ้าได้กระทำไว้แต่ก่อน
ครั้นหนึ่งเมื่อบารมีพระผู้เป็นเจ้ายังอ่อนอยู่นั้น เป็นบุรุษเลี้ยงมารดา มารดาตามืด ตกว่ามารดา
กับภรรยานั้นไม่เข้ากัน ฝ่ายว่าภรรยานั้นตั้งแต่จะยุยงใส่โทษมารดา วอนว่าแก่บุรุษผู้นั้น ให้
บุรุษนั้นไปปล่อยมารดาเสียในมรคาอันกันดาร บุรุษสามีนั้นหลงด้วยกลมารยา ก็พามารดาขึ้น
สู่เกวียนอันเทียมด้วยโค ขับเข็นมาถึงมรคากันดาร มารดาสิตามืด บุรุษนั้นก็กระทำกิริยาให้
เหมือนโจรตี ส่วนมารดาตามืดมีจิตนั้นสะดุ้งหวาดหวั่น สำคัญว่า โจรจริง จึงร้องว่า ตาต ดู
รานะลูกเอ๋ย เอาตัวรอดเถิด มารดานี้แก่แล้ว ตามทีมารดาเถิดลูกเอ๋ย ไปให้พ้น ตกว่าบุรุษ